ศิลปวัฒนธรรมสมัยสุโขทัยโดดเด่นด้านศิลปกรรม

สุโขทัย คือ อาณาจักรที่ในอดีตตั้งอยู่ในประเทศไทย สามารถดำรงยุคสมัยได้อย่างยาวนานเกือบ 200 ปี มีการสร้างแบบแผนดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน รวมทั้งสร้างสรรค์วัฒนธรรมเอาไว้มากมาย วัฒนธรรมแห่งกรุงสุโขทัยมีมากมายหลายประการ เช่น วัฒนธรรมการศึกษา , วัฒนธรรมตัวอักษร , วัฒนธรรมวรรณกรรม , วัฒนธรรมการแต่งกาย , วัฒนธรรมดนตรีและฟ้อนรำ เป็นต้น

วัฒนธรรมการศึกษา

ความหมายของการศึกษาในยุคสุโขทัย คือ การสืบทอดและสร้างสรรค์วัฒนธรรม เพราะฉะนั้นในยุคสมัยนี้ การจัดรูปแบบทางการศึกษาจะได้รับอิทธิพลจากพราหมณ์และพุทธศาสนา เข้ามาเป็นหลักเกณฑ์สำคัญสามารถแบ่งลักษณะต่างๆ

วัฒนธรรมทางตัวอักษรไทย

อ้างอิงจากศิลาจารึกหลักที่ 1 มีการบันทึกไว้ว่า พ่อขุนรามคำแหงได้ลงศิลาจารึกไว้ในปี พ.ศ. 1826 ซึ่งเป็นตัวอักษรเก่าแก่ที่สุดซึ่งใช้ในประเทศไทย ทั้งนักประวัติศาสตร์ , นักโบราณคดี , นักอักษรศาสตร์ ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้มากมาย โดยเฉพาะ George Cœdes ที่ได้สรุปว่า ตัวอักษรของพ่อขุนรามคำแหง มีการดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด เนื่องจากมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกันมาก หากแต่การศึกษาของ นันทนา ด่านวัฒน์ กลับพบว่าตัวอักษรต้นตระกูลของอักษรพ่อขุนรามคำแหง คือ อักษรหราหมี , อักษรคฤนห์ , อักษรขอมหวัด ทางด้านอักขรวิทยา สำหรับอักษรพ่อขุนรามคำแหงนั้นมีให้เห็นว่ามีการใช้เฉพาะในรัชสมัยของพระองค์เท่านั้น แต่ต่อมาในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย ได้ปรากฏรูปแบบอักษรไทยแบบใหม่ขึ้น เรียกว่าอักษรพระเจ้าลิไทย

วัฒนธรรมทางด้านวรรณกรรม

วรรณกรรมที่เกิดขึ้นในยุคสมัยสุโขทัย มีจำนวนมากมาย หากแต่ไม่ได้มีการตกทอดสืบมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับวัฒนธรรมทางวรรณกรรมที่ตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้ คือ ศิลาจารึกหลักที่ 1หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหง โดยกรมศิลปากร ได้จัดอันดับไว้ให้เป็นอันดับแรกของวรรณกรรมแห่งศิลาจารึก และวรรณกรรมที่รู้จักรองลงมา ได้แก่ ไตรภูมิพระร่วงกับสุภาษิตพระร่วง เพราะส่วนใหญ่แล้ววรรณกรรมในสมัยนี้ จะมีเน้นเชิดชูวีรกรรม เกี่ยวกับศาสนาหรือปรัชญาเป็นส่วนใหญ่

วัฒนธรรมการแต่งกาย

จากหลักฐานโบราณวัตถุสมัยสุโขทัย ได้ปรากฏให้เห็นถึงจากการเปรียบเทียบ เครื่องแต่งกายตัวละคร รวมกับการเปรียบเทียบเครื่องแต่งกายของคนไทยเผ่าต่าง ๆ จึงสรุปออกมาได้ดังนี้

การแต่งกายของผู้หญิง

ผู้หญิงในสมัยสุโขทัย นิยมไว้ผมยาว แล้วเกล้ามวย มีพวงมาลัยพันรอบมวยเพื่อความสวยงาม สำหรับมวย ก็มีทั้งเกล้าที่อยู่กลางกระหม่อมและบริเวณท้ายทอย มีปิ่นปักเพื่อเพิ่มความเก๋ไก๋ นิยมสวมเสื้อแขนยาวคับกับร่างกาย , นุ่งผ้าถุง

การแต่งกายของผู้ชาย

นิยมไว้ผมยาว พร้อมมุ่นมวยไว้ตรงกลางกระหม่อมหรือท้ายทอย สวมเสื้อผ้าผ่าอกแขนยาว รมทั้งสวมกางเกงขายาวแบบชุดคนเมือง เจ้านายนุ่งผ้าโจงกระเบนคาดเข็มขัด เวลาออกศึกนุ่งกางเกงขายาว เป็นต้น