การแก้ผ้า นับเป็นงานศิลป์ที่สำคัญหรือไม่

งานศิลปะ ของเหล่าศิลปินบางครั้งก็เป็นสิ่งที่เราอาจจะไม่เข้าใจ บางเรื่องงานศิลปะเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ยาก หรือ บางอย่างเราอาจจะมีกฎบางอย่างเข้ามาตัดสิน จนทำให้เรามองงานศิลปะแบบนั้นเป็นอย่างอื่นไป หนึ่งในหัวข้อที่เราถกเถียงกันมาตลอดก็คือ การแก้ผ้า นับว่ายังเป็นงานศิลป์อยู่ไหม แก้ผ้า พื้นฐานของงานวาดภาพ คนที่ไม่ได้เรียน วิชาการวาดภาพมาจะไม่รู้เลยว่า การแก้ผ้าเป็นเรื่องที่สำคัญมากของการเรียนวาดภาพ เพราะการเรียนวาดภาพจะให้ได้เหมือนและดีได้ พวกเค้าจะต้องเห็นตัวแบบจริง เห็นคนจริง เพื่อจะได้เห็นกล้ามเนื้อ โครงสร้างของร่างกาย อวัยวะต่างๆ อย่างชัดเจน เพื่อจะได้รู้จักมัน แล้ววาดภาพออกมาได้เหมือนที่สุด เมื่อวาดภาพคนได้เหมือนทั้งหน้าตา กล้ามเนื้อ โครงสร้างแล้ว ก็จะสามารถต่อยอดไปวาดภาพอันสวยงามได้ แก้ผ้า พื้นฐานของงานปั้น ไม่เพียงแค่งานวาดภาพ งานปั้นเองก็ต้องฝึกฝนจากคนแก้ผ้าด้วยเหมือนกัน เหตุผลเดียวกันถ้าเค้าไม่เห็นกล้ามเนื้อ เค้าจะปั้นงานได้อย่างไร ลองนึกภาพช่างปั้นไม่ทราบขนาดของคน ไม่ทราบสัดส่วนจะปั้นออกมาได้อย่างไร ลองนึกภาพว่างานปั้นวีนัสอันงดงามจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าช่างปั้นไม่เคยเห็นนางแบบแก้ผ้ามาก่อน แก้ผ้า กับงานถ่ายภาพ อีกหนึ่งสายงานศิลป์ที่หลายคนตีความผิดไปกันเยอะมากก็คือ ง่ายถ่ายภาพ แน่นอนว่าภาพถ่ายนางแบบที่แก้ผ้าเรียกว่า ถ่ายนู๊ด มักจะถูกมองว่าเป็นการถ่ายภาพเรื่องเพศเท่านั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเหล่าสื่อกลุ่มปลุกใจเสือป่าทั้งหลายที่ขยันปล่อยภาพแบบนี้ออกมา แต่จริงๆแล้ว การถ่ายภาพคนแก้ผ้า เราสามารถสื่อสารให้เป็นงานศิลปะที่สวยงามได้เหมือนกัน หากแต่งภาพให้ดี แสงมุม ท่วงท่า มันอาจจะไม่ได้ส่อถึงเรื่องนั้นได้เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับช่างภาพด้วย การแก้ผ้ายังเป็นงานสำคัญหรือไม่ จากที่เล่ามา…

ศิลปะร่วมสมัยออกแบบตามใจนึก

งานศิลปะถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับโลกของเรามาอย่างช้านาน เรียกว่าอยู่มานานตั้งแต่มนุษย์ยังไม่รู้จักภาษาหรือการใช้คำพูดใดๆ ด้วยซ้ำ สังเกตได้จากสัญลักษณ์ที่ขุดค้นพบเจอจำนวนมากมนุษย์เราใช้การวาดภาพแทนการสื่อสารมาก่อน พอยุคสมัยค่อยๆ พัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ งานศิลปะก็เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อบ่งบอกถึงยุคต่างๆ ด้วยเหมือนกัน กระทั่งก้าวเข้าสู่คำที่เรามักคุ้นหูกันดีออย่าง ศิลปะร่วมสมัย นี่คือคำที่ฟังดูเท่ มีความหมาย แต่แท้จริงแล้วมีอะไรอีกมากที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังของคำเก๋ๆ คำนี้ งานศิลปะร่วมสมัยใช้การออกแบบตามใจนึก ลำดับแรกที่อยากให้ทำความเข้าใจก่อนก็คือ ความหมายของคำว่า งานศิลปะร่วมสมัย หากมองในภาพรวมต้องบอกว่าความหมายของคำๆ นี้เป็นอะไรที่กว้างมากแต่ก็พอสรุปให้เข้าใจได้ว่า ศิลปะร่วมสมัยเป็นงานที่เกิดขึ้นหลังจากยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เรื่อยมา หรือเป็นช่วงศตวรรษที่ 20 นั่นเอง โดยงานประเภทดังกล่าวได้ถูกสร้างขึ้นมาเรื่อยๆ กระทั่งทุกวันนี้ คำว่าร่วมสมัยไม่ได้มีหลักการตายตัวว่างานที่ออกมาจะต้องเป็นอย่างไร ซึ่งตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันงานศิลปะร่วมสมัยมีหลากหลายรูปแบบมากไม่ว่าจะเป็น โมเดิร์น อาร์ต, แอ๊บสแตรกท์ อาร์ต, แอ๊บสแตรกท์ เอ็กซ์เพรสชั่นนิซึ่ม, โพสต์ โมเดิร์น, มีเดีย อาร์ต, มัลติมีเดีย และอื่นๆ อีกมาก มันจึงแสดงให้เห็นว่าแท้จริงของศิลปะร่วมสมัยก็คือการสร้างสรรค์งานศิลปะในรูปแบบตามใจนึกของศิลปินคนนั้นที่พยายามรังสรรค์งานออกมาเพื่อต้องการถ่ายทอด และสื่อความหมายอะไรบางอย่างให้กับคนที่มองได้พยายามเข้าใจ แม้มันอาจไม่ค่อยเข้าใจหรือเป็นเรื่องเข้าใจยากกระนั้นงานศิลปะก็ยังคงมีความหมายในตัวของมันเองอย่างไม่เสื่อมคลาย งานบางชิ้นกว่าจะมีชื่อเสียงได้อาจใช้เวลาหลายปีเพราะไม่ใช่แค่การสร้างสรรค์จนเสร็จเท่านั้นแต่เรื่องราวของงานกก็ถือเป็นอีกความน่าสนใจสำหรับคนที่พยายามสร้างงานศิลปะให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับโลกและทุกๆ คนที่พยายามทำความเข้าใจในเรื่องราวที่ถูกแสดงออกมา งานศิลปะร่วมสมัยบางคนอาจมองว่าเป็นการนำศิลปะแบบเก่ามาผสมผสานกับแบบใหม่ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิด อย่างที่บอกว่าทุกอย่างคือความคิด จิตวิญญาณ ความเชื่อมั่นหรือความศรัทธาในตัวงาน อาจถูกมองว่าไม่ค่อยเข้าใจในสายตาของบางคนแต่กับอีกคนอาจเข้าใจในเรื่องราวตรงนี้เป็นอย่างดีก็ได้ ใครคิดสร้างงานศิลปะร่วมสมัยอย่าพึ่งกังวลว่างานเราจะเหมาะสมหรือถูกใจคนอื่นทันที บางอย่างต้องทำแบบตามใจนึกแล้วถ้าเป็นของดีจริงๆ…

ศิลปะเส้นด้ายแนวคิดคณิตศิล

คณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่ได้รับการกล่าวขานจากเด็กๆ ว่ามีทั้งความยากและซับซ้อนเป็นอย่างสูง หากแต่วิชาศิลปะถือว่าเป็นหนึ่งในวิชา ที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ให้มีความสนใจให้อยากเรียนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากศิลปะเป็นวิชาที่ใช้จินตนาการของแต่ล่ะคน ทุกคนจึงสามารถเรียนได้ อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี โดยศิลปะสามารถนำมาผสมผสานให้เข้ากับวิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างลึกซึ้งและมีความสวยงาม ‘คณิตศิลป์’ คือ การนำเส้นตรงมาสร้างให้เกิดเป็นรูปร่าง รวมถึงรูปทรงต่างๆขึ้นมาให้เกิดความสวยงาม มันคือการสร้างรูปภาพต่างๆ ขึ้นมาจากรูปทรงเรขาคณิตนั่นเอง แต่แทนที่จะวาด ก็ใช้วิธี ‘ปัก’ เส้นด้ายโยงใยไปตามจุดต่างๆ ที่กำหนดไว้แล้ว ใช้เทคนิคในการปักซ้อนทับสร้างรูปทรงต่างๆ ดูซับซ้อน หากแต่สวยงาม จนเกิดมาเป็นภาพแปลกใหม่ตามต้องการ ซึ่งนักเรียนก็จะศึกษาเรื่อง รูปทรงเรขาคณิต , วิธีวัด , จัดคู่อันดับ , จัดคู่สี รวมทั้งเรื่องอื่นๆอีกมากมาย สอดแทรกเข้าไปในชิ้นงานโดยไม่รู้ตัว อีกทั้งยังทำให้เด็กเกิดความคุ้นเคย ไม่กลัววิชาคณิตศาสตร์ อีกต่อไป แต่กลับมองเห็นความสวยงามที่ซ่อนอยู่ในวิชาคณิตศาสตร์ สามารถเรียนหนังสือด้วยรอยยิ้ม นอกจากนี้ในอนาคต นักเรียนก็ยังสามารถต่อยอดพัฒนาไปเป็นอาชีพได้ ทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม อีกทั้งยังลงทุนน้อยมีเพียงแค่กระดาษ , ด้ายและเข็มเท่านั้น การสร้างงานคณิตศิลป์ นอกจากจะทำให้ใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์ มีรายได้เสริมแล้ว ยังฝึกให้นักเรียนเป็นคนใจเย็นขึ้น มีสมาธิมากขึ้น เนื่องจากการปักด้ายต้องกระทำด้วยความตั้งใจ ลงมืออย่างประณีต เพราะถ้าใจร้อนแล้วก็ไม่อาจปักได้ จากที่ไม่เคยชอบวิชาคณิตศาสตร์…

ศิลปวัฒนธรรมสมัยสุโขทัยโดดเด่นด้านศิลปกรรม

สุโขทัย คือ อาณาจักรที่ในอดีตตั้งอยู่ในประเทศไทย สามารถดำรงยุคสมัยได้อย่างยาวนานเกือบ 200 ปี มีการสร้างแบบแผนดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน รวมทั้งสร้างสรรค์วัฒนธรรมเอาไว้มากมาย วัฒนธรรมแห่งกรุงสุโขทัยมีมากมายหลายประการ เช่น วัฒนธรรมการศึกษา , วัฒนธรรมตัวอักษร , วัฒนธรรมวรรณกรรม , วัฒนธรรมการแต่งกาย , วัฒนธรรมดนตรีและฟ้อนรำ เป็นต้น วัฒนธรรมการศึกษา ความหมายของการศึกษาในยุคสุโขทัย คือ การสืบทอดและสร้างสรรค์วัฒนธรรม เพราะฉะนั้นในยุคสมัยนี้ การจัดรูปแบบทางการศึกษาจะได้รับอิทธิพลจากพราหมณ์และพุทธศาสนา เข้ามาเป็นหลักเกณฑ์สำคัญสามารถแบ่งลักษณะต่างๆ วัฒนธรรมทางตัวอักษรไทย อ้างอิงจากศิลาจารึกหลักที่ 1 มีการบันทึกไว้ว่า พ่อขุนรามคำแหงได้ลงศิลาจารึกไว้ในปี พ.ศ. 1826 ซึ่งเป็นตัวอักษรเก่าแก่ที่สุดซึ่งใช้ในประเทศไทย ทั้งนักประวัติศาสตร์ , นักโบราณคดี , นักอักษรศาสตร์ ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้มากมาย โดยเฉพาะ George Cœdes ที่ได้สรุปว่า ตัวอักษรของพ่อขุนรามคำแหง มีการดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด เนื่องจากมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกันมาก หากแต่การศึกษาของ นันทนา ด่านวัฒน์ กลับพบว่าตัวอักษรต้นตระกูลของอักษรพ่อขุนรามคำแหง คือ อักษรหราหมี ,…

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สถานที่สวยงามแหล่งท่องเที่ยว

‘สุโขทัย’ เป็นราชธานีเก่าแก่อันทรงคุณค่า ซึ่งครั้งหนึ่งในชีวิตขอแนะนำให้คุณหาโอกาส ไปสัมผัสช่วงเวลาแห่งมนต์อดีตรวมทั้งร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่คนไทยและชาวต่างชาติควรค่าแก่การเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง เป็นสถานที่ตั้งของโบราณสถานสำคัญ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นมรดกโลก โดยอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ไม่ได้เพียงแค่เป็นเมืองอันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เท่านั้น หากแต่ยังดำรงไว้ในเรื่องของความเป็นวิถีชีวิตดั้งเดิม เรียบง่าย ภายใต้บรรยากาศที่ยังคงเป็นธรรมชาติรอให้คุณได้ไปสัมผัส อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีอาณาเขตกว้างใหญ่ทั้งโบราณสถานกรุงสุโขทัย โดยในอดีตเป็นศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย โดยมีอำนาจอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ย้อนไปในช่วงพุทธศตวรรษ 18 – 19 ตั้งอยู่ ณ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยในปัจจุบัน ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร รูปแบบผังเมืองของสุโขทัย เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาว 2 กิโลเมตร มีประตูเมือง 4 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณกลางกำแพงของแต่ละด้าน โดยภายในยังคงเหลือความเป็นมาในอดีตให้ทุกคนได้รับชม มีพระราชวังและวัดอีก 26 แห่ง สำหรับวัดขนาดใหญ่ที่สุด คือวัดมหาธาตุ อุทยานแห่งนี้ผ่านการบูรณะโดยฝีมือของกรมศิลปากร ด้วยความช่วยเหลือจากองค์กร UNESCO มีผู้เดินทางมาเยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี สามารถเดินชมรอบๆหรือขี่จักรยานได้ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการคุ้มครองตามราชกิจจานุเบกษา วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ในปี…

ศิลปวัฒนธรรมไทยกับการแสดงพื้นบ้าน

ศิลปวัฒนธรรมไทย เป็นสิ่งที่มีความสวยงาม อีกทั้งยังเป็นอีกเสน่ห์หนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ ช่วยสร้างสีสันให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก และศิลปวัฒนธรรมไทยมีความผูกพันกับการแสดงพื้นบ้านอย่างลึกซึ้ง เรามาทำความรู้จักกับทั้ง 2 อย่างนี้กันให้มากขึ้นดีกว่า การแสดงพื้นบ้าน คือ การแสดงจากท้องถิ่น ตามพื้นที่ของแต่ละภูมิภาค บางครั้งอาจมีการพัฒนา –มาจากการละเล่นพื้นเมืองของท้องถิ่นนั้นๆ เป็นต้น การแสดงพื้นบ้าน คือ การแสดงโดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน รวมทั้งสร้างความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ โดยมีลักษณะแตกต่างกัน ตามแต่ล่ะสภาพภูมิประเทศ , สังคม , วัฒนธรรม ของแต่ละท้องถิ่น เพราะฉะนั้นการแสดงพื้นบ้านของประเทศไทย ได้แบ่งตามส่วนภาค ดังนี้… ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ การแสดงพื้นบ้านของภาคเหนือ เป็นศิลปะที่มีการผสมผสานระหว่างท้องถิ่นต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น ไทยลานนา , ไทยใหญ่ , เงี้ยว ตลอดจนพม่าที่เคยเข้ามาปกครองล้านนาไทย ทำให้การแสดงของภาคเหนือมีความหลากหลาย กลายมาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่เผยให้เห็นถึงความนุ่มนวลของท่วงท่า รวมทั้งทำนองเพลงประกอบที่มาจาก เป้ยะ , สล้อ , ซอ , ซึง และยังมีความหนักแน่นของกลองสะบัดชัย…

ศิลปวัฒนธรรม การแต่งกาย ของคนไทยในสมัยอยุธยา

ตามประวัติศาสตร์ชนชาติไทยสมัยอยุธยาถือเป็นสมัยที่ 2 ของประวัติศาสตร์ต่อจากยุคกรุงสุโขทัย และยังได้รับการยกให้เป็นช่วงเวลาที่สยามประเทศมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีมากที่สุด รวมถึงการปกครองอันแสนยาวนานดังนั้นเรื่องของการแต่งกายจึงมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพสังคมอย่างเหมาะสม องมาดูกันว่าศิลปวัฒนธรรมในด้านการแต่งกายของคนไทยในสมัยอยุธยาเป็นอย่างไรบ้าง โดยเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ยุคหลักๆ ยุคที่ 1 พ.ศ. 1893 – 2031 หญิงใช้การเกล้าผม เลือกได้ว่าจะเกล้าผมให้ไว้ตรงท้ายทอยหรือจะเกล้าบนสูง มีเกี้ยวเป็นเครื่องประดับซึ่งมีหน้าที่เอาไว้รัดมวยผม แต่งกายด้วยผ้าซิ่นจีบหน้า เสือคอกลมแบบผ่าหน้า แขนกระบอก ตัวเข้ารูป ผ้าคลุมสะโพกตรงด้านในปล่อยชายเสื้อออกข้างนอก ชายไว้ทรงมหาดเล็ก คนรับใช้ไว้ผมสั้น เกล้าผมแบบหญิง แต่งกายด้วยกางเกงขายาวถึงหน้าแข้ง ปลายช่วงขาเรียวเล็ก เสื้อแขนยาวถึงข้อมือ คอแหลม ยุคที่ 2 พ.ศ. 2034 – 2171 หญิงตัดผมสั้นไม่อย่างนั้นก็หวีเสย บางคนไว้ผมยาวแล้วเกล้าให้อยู่บนศีรษะ ก่อนเลิกเกล้าเมื่อปี 2112 เพราะต้องทำงานจนไม่มีเวลา แต่งกายด้วยโจงกระเบนไม่ก็กางเกง เสื้อแขนกระบอก ผ่าอก คอกลม ถ้าเป็นชนชั้นสูงจะมีผ้าคลุมไหล่ 2 ข้าง ชาย ผมสั้นแสกกลาง แต่งกายด้วยโจงกระเบน มีผ้าคล้องไหล่แต่ไม่สวมเสื้อ ยุคที่ 3 พ.ศ.…

งาน ศิลปวัฒนธรรมสมัยอยุธยา ปัจจัยหนึ่งทำให้รุ่งเรื่อง

ตามประวัติศาสตร์ของชาติไทยเรารู้กันดีว่าสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนับเป็นช่วงเวลาการปกครองที่ยาวนานมากที่สุด ส่วนหนึ่งที่ทำให้สมัยนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมากมาจากด้านศิลปวัฒนธรรมที่ทุกวันนี้บางอย่างยังคงสืบทอดมาถึงรุ่นปัจจุบัน ต้องบอกว่าทั้งด้านศิลปะและวัฒนธรรมของอยุธยามีด้วยกันหลายแบบมากๆ มาดูกันว่ามีเรื่องไหนถึงทำให้อาณาจักรแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองมาได้กว่า 400 ปี ตามที่เราได้เรียนรู้และศึกษากันมาตั้งแต่เด็ก ปัจจัยที่ทำให้อาณาจักรอยุธยารุ่งเรือง งานศิลปวัฒนธรรม เริ่มต้นกันที่เรื่องของวัฒนธรรมก่อน วัฒนธรรมของสมัยกรุงศรีอยุธยาที่เห็นเด่นชัดมากๆ คงเป็นเรื่องการแต่งตัวอันถือว่าเป็นเอกลักษณ์สุดๆ มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายสมัยแต่โดยรวมยังคงแสดงออกถึงความเป็นไทยได้ชัดเจน เช่น ทรงผม, สไบ, โจงกระเบน ฯลฯ เป็นสิ่งที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นที่ทำให้อาณาจักรแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา เรื่องที่ 2 คือ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นประเพณีอันสวยงามที่หลายคนอาจพึ่งรู้ว่ามีจุดเริ่มต้นจากสมัยอยุธยา มีการตกแต่งเรืออย่างสวยงามที่สุด สร้างริ้วขบวน และทำพิธีต่างๆ ด้วยอยุธยารายล้อมด้วยน้ำพิธีดังกล่าวจึงเป็นเหมือนการแสดงให้เจ้าฟ้าเจ้าเมืองได้เห็น เรื่องวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของอยุธยาถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้อาณาจักรยืนยงมาได้หลายร้อยปี แถมประเพณีบางอย่างยังตกทอดมา เช่น ลอยกระทง, สงกรานต์ เป็นต้น มาต่อกันที่เรื่องของงานศิลปะในสมัยอยุธยากันบ้าง บอกเลยว่างานศิลปะแต่ละจุดมีความงดงามในแบบฉบับของตนเองทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสถาปัตยกรรมต่างๆ โดยเฉพาะบรรดาวัดทั้งหลายที่เรามักเห็นว่ามีความสวยงามในแบบฉบับของตนเองพอควร แม้ปัจจุบันหลายแห่งจะถูกเผาหมดก็ตาม ด้านงานประติมากรรมก็มีความสวยงามไม่แพ้กันโดยเฉพาะเรื่องการสร้างพระพุทธรูปที่หลายๆ องค์ยังคงอยู่มาถึงทุกวันนี้ ด้านงานจิตรกรรมจะเน้นเรื่องเกี่ยวข้องกับงานของพระพุทธศาสนา มีการเลือกใช้สีสันอย่างน่าสนใจจนกลายเป็นความสวยงามที่มีคุณค่าอย่างมากกับคนยุคหลังๆ ที่เข้าไปสัมผัส งานศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้ในสมัยอยุธยาถือเป็นเรื่องราวอันทรงคุณค่ามากๆ ของเมืองไทยเรา ด้วยอยุธยาเป็นอดีตเมืองหลวงเก่า การมีประวัติศาสตร์เหล่านี้ตกทอดมาช่วยแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเรามีวิวัฒนาการในแต่ละยุคสมัยชัดเจน เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยที่ประเทศเราไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใครแถมยังมีเรื่องราวต่างๆ เป็นของตนเองมายาวนาน เป็นสิ่งที่ทำให้รูว่าบ้านเราเติบโตมาพร้อมกับความสวยงามแห่งวัฒนธรรม งานศิลปะ รวมถึงความคลาสสิกที่รวมอยู่ในตนเอง เป็นเรื่องที่น่าดีใจและควรค่ากับการรักษาไว้

วันสงกรานต์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่มีมาช้านาน

ประเพณีวันสำคัญอย่างวันสงกรานต์นั้นถือได้ว่าเป็นวันที่ทุกคนทั่วทั้งประเทศไทยนั้นให้ความสำคัญอย่างมากไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ซึ่งเราต้องบอกก่อนเลยว่าสงกรานต์นั้นถ้าคนในสมัยใหม่พูดกันมันก็คือการเล่นน้ำสาดน้ำกันในหน้าร้านตั่งแต่เดือน 4 เมษายน เดือน 5 พฤษภาคม แต่คนวัยรุ่นสมัยนี้นั้นมักจะลืมประเพณีศิลปวัฒนธรรมของไทยตั่งแต่โบราณนั่นก็คือทำบุญที่วัดและที่สำคัญที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานนั่นก็คือรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่หรือสรงน้ำพระสงฆ์และก่อเจดีย์ทราย การเล่นสาดน้ำสมัยปัจจุบัน สมัยนี้นั้นการแต่งตัวถือได้ว่าต้องทันสมัยวัยรุ่นหนุ่มสาวมักจะสวมใส่เสื้อผ้าที่ล่อแหลมออกไปเล่นน้ำโดยการใส่เสื้อผ้าที่มีความบางมากและเป็นสีขาวก่อให้เกิดเหตุอันตรายถึงกับมีข่าวที่ออกมาว่าฆ่าข่มขืนลวงไปฆ่าและยังมีข่าวออกมาทุกปีว่าคุกคามทางเพศ การเล่นสาดน้ำสมัยโบราณ การเล่นน้ำในสมัยโบราณหนุ่มสาวสมัยนั้นก็ให้ความสำคัญแต่การเล่นสาดน้ำก่อเจดีย์กันมากและการเล่นสาดน้ำหรือการสวมใส่เสื้อผ้าก็มิดชิดและก็เข้าวัดไปทำบุญและก่อเจดีย์ทรายและข่าวการคุกคามทางเพศก็ไม่มีและฆ่าข่มขืนลวงไปฆ่าก็ไม่มี การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ต้องบอกก่อนเลยว่าสมัยนั้นการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณะที่ทั่วทั้งประเทศไทยนิยมทำกันเพราะเป็นการเคารพญาติผู้ใหญ่ที่เราให้ความเคารพนับถือ การสรงน้ำพระ สรงน้ำพระนั้นถือได้ว่าเป็นการให้ความเคารพพระพุทธศาสนาอย่างสูงสุดที่ในความเชื่อของคนโบราณนั้นว่าจะได้บุญอย่างสูงสุดและเป็นการปลุกฝังให้ลูกหลายของเรานั้นเข้าวัดทำบุญกันตั่งแต่เด็กๆ อีกด้วย

ศิลปวัฒนธรรมสมัยสุโขทัยยุคโบราณ

หากถามเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมสมัยโบราณยุคตอนช่วงสมัยสุโขทัยก็จะมีไม่กี่อย่างแต่ที่เราจะเอามายกตัวอย่างกันในวันนี้นั้นก็คือประเพณีลอยกระทงซึ่งเป็นการแสดงถึง การขอบคุณพระแม่คงคาที่เราได้ทำผิดกับน้ำที่เราต้องใช้น้ำในการชำระล้างร่างกายทุกอย่างเพราะว่าคนในสมัยก่อนนั้นเชื่อกันว่าน้ำเป็นคุณแก่คนสมัยนั้นไม่ว่าจะ กินน้ำ อาบน้ำ ใช้ในการลดน้ำเพราะปลูก และอื่นๆ อีกมากมาย สมัยสุโขทัยนั้นประเพณีวันลอยกระทงถือว่าเป็นประเพณีที่สำคัญอย่างมากและได้ถูกจัดให้เป็นประเพณีที่ถูกสืบ ทอดตั่งแต่ยุคสมัยนั้นจนมาถึงปัจจุบัน กระทงเป็นเหมือนตัวแทนคำขอบคุณของมนุษย์ กระทงในสมัยก่อนนั้นทำมาจากหยวกกล้วยที่ทำมาจากลำต้นของต้นกล้วยและก็ใบตองที่เอามาตกแต่งให้สวยงามแต่ในปัจจุบันนี้นั้นได้มีการประกวดกระทงว่าใครมีความสามารถตกแต่งให้กระทงมีความสวยงามก็ได้มีหลายคนนั้นให้ความสนใจการประกวดกระทงสวยงามกันอย่างมากโดยการนำเอาวัสดุอื่นๆ เข้ามาดัดแปรงใหม่ทำให้เหมือนกระทงได้แก่ โฟมพลาสติก ขนมปัง แต่โฟมนั้นเป็นวัสดุที่ไม่สามารถย่อยได้ หากนำเอาไปลอยน้ำแล้วเลยไม่มีการย่อยอย่างแน่นอนและเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมแต่ที่เราเอามายกย่องสืบสารประเพณีก็คือขนมปังเพราะว่าสามารถนำเอามาทำกระทงแล้วดัดแปรงให้สวยสดงดงามได้แถมยังไม่เป็นมลพิษทางน้ำอีกด้วยเพราะว่าหากลอยกระทงไปแล้วนั้นหากถึงเวลาที่ย่อยสลายได้นั้นมันก็จะเป็นอาหารของเหล่าปลาเล็กน้อยใหญ่ในแม่น้ำลำธารจึงได้ชื่อว่าเป็นการสืบการศิลปวัฒนธรรมสมัยโบราณที่ดัดแปรงให้เข้ากับช่วงยุคสมัยตามกาลเวลาหากถามว่ามันผิดแต่การสืบสารประเพณีหรือไม่ก็ไม่ถึงกับผิดแต่ก็ไม่เชิงถูกเสมอไปเพราะว่ากระทงที่แท้จริงนั้นต้องทำมาจากต้นกล้วยและใบตองหรือใบกล้วยนั้นเองแต่สมัยปัจจุบันนั้นสามารถดัด แปรงแก้ไขสิ่งที่ทำกระทงแล้วให้ผลดีในหลายๆ ทางนั้นก็คือกระทงที่ทำมาจากขนมปังนั่นเอง หากถามว่าการสืบสารประเพณีการลอยกระทงนั้นมีมากี่ร้อยปีแล้วโดยรวมๆ ประมารเป็นตัวเลขอาจจะไม่ได้แต่ที่รู้แน่ชัดเลยว่าการจะลอยกระทงนั้นต้องทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ของทุกๆ ปี จะตกอยู่ในราวประมารเดือนพฤศจิกายนนั่นเอง และทั้งหมดนี้ที่เราพูดมาทั้งหมดนั้นก็คือศิลปวัฒนธรรมสมัยโบราณยุคตอนช่วงสมัยสุโขทัยคนที่ได้สืบสารกันมาอย่างยาวนานรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน